สถานที่ตั้ง

จังหวัด พัทลุง

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ถ้ำ

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม
เคยมีการค้นพบกรุพระพิมพ์ดินดิบสมัยศรีวิชัย ทั้งในถ้ำมาลัยเทพนิมิต ถ้ำคุรำ และถ้ำพิมพ์ ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง นอกจากนี้สถานที่ตั้งของถ้ำที่อยู่บนเขาอกทะลุ ยังมีเจดีย์บนยอดเขาซึ่งทางจังหวัดใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัดอีกด้วย

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

 ห่างจากสถานนีรถไฟพัทลุงไปทางทิศเหนื่อ เป็นสัญญาลักษณ์คู่เมืองพัทลุง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ลักษณะทั่วไปภายในถ้ำ
ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก ประกอบกับแสงไฟที่ช่วยเสริมความงามได้ทุกจุดที่มีลักษณะหินงอกหินย้อยที่สวยงาม ภายในสุดมีหินย้อยและมีน้ำหยดไหลลงมาเป็นชั้นน้ำตก มีการเดินระบบไฟฟ้าให้แสงสว่าง องค์ประกอบของหินงอกหินย้อยภายในถ้ำกลมกลืน มีทางเดินชมถ้ำที่ผ่านทุกจุดที่มีลักษณะเด่นของหินงอกหินย้อย พบมูลค้างคาวตามทางเดินเป็นจำนวนมาก อากาศภายในค่อนข้างอับ และมีกลิ่นมูลค้างคาว รวมทั้งพบกลุ่มแมลงสาบจำนวนมากบริเวณโถงทางเดิน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

สัตว์ที่อาศัยบริเวณถ้ำ
ในวันที่สำรวจพบงูลายทางสีขาวดำจำนวน 2 ตัว แมงมุมที่มีรยางค์หน้าคล้ายก้ามจำนวน 1 ตัว แมลงสาบ และค้างคาวจำนวนมาก
ประเภทของหินงอกหินย้อย
เสาหิน (Column) ม่านหินปูน (Draperies) ธารหิน (Flowstone) ข้าวโพดคั่ว (Popcorn) และ ทำนบหิน (Rimstone)

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทถ้ำ
คุณค่าการใช้ประโยชน์
- ไม่มีรูปภาพ -
คุณค่าความสำคัญ
- ไม่มีรูปภาพ -
ผลกระทบที่พบเห็น
- ไม่มีรูปภาพ -
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีรูปภาพ -
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีรูปภาพ -
หัวหน้า
- ไม่มีรูปภาพ -
อื่นๆ
- ไม่มีรูปภาพ -
เจ้าหน้าที่
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนที่
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -