สถานที่ตั้ง

จังหวัด บุรีรัมย์ อำเภอ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตำบล ตาเป๊ก 31110

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ภูเขา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

        พื้นที่ภูพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ บนเขาประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ คือ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

        ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18 จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการอ่านและสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนม 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

        ธรณีวิทยา มีลักษณะเป็นภูเขาลูกโดด เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วแต่ยังคงสัณฐานภูเขาไฟให้เห็น เป็นผลมาจากการแปรสัณฐานยุคเทอร์เชียรี ส่งแรงตึงกระทำต่อบริเวณภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย จนเกิดลาวาหลากไหลขึ้นกลางแผ่นทวีปปิดทับบนหินทรายและหินทรายแป้งปนกรวดของหมวดหินโคกกรวด เมื่อเย็นตัวกลายหินบะซอลต์ชนิดฮาวายไอต์สีเทาดำ บริเวณยอดเขาพบหินตะกรันภูเขาไฟ (Scoria) และหินบอมบ์ภูเขาไฟหลายขนาดเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงบริเวณซึ่งเป็นปากปล่องภูเขาไฟ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

        ลักษณะภูมิประเทศ ภูพนมรุ้ง เป็นภูเขาที่ดับสนิท เป็นเนินเขาที่มีไหล่เขาสูงชันประมาณ 6-15 องศา คลุมพื้นที่ประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร มองจากที่สูงมีลักษณะคล้ายเต่ายื่นหัวออกไปทางทิศเหนือ ตัวเนินภูเขาไฟสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 380 เมตร มีปล่องภูเขาไฟขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 1.5 กิโลเมตร
        ดิน ลักษณะดินเป็นดินเหนียว
        ภูมิทัศน์ เป็นภูเขาที่ล้อมรอบด้วยทุ่งนา มีลักษณะของภูเขาคล้ายกรวยคว่ำ บริเวณยอดเขาเป็นที่ตั้งของปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สวยงามของจังหวัดบุรีรัมย์

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

        พืชพรรณ พืชพรรณเป็นพืชดั้งเดิมผสมกับพื้นต่างถิ่นปลูกประดับเพื่อความสวยงาม

ประเภทการใช้ประโยชน์

        การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เพื่อการท่องเที่ยวและการศึกษาวิจัยในเชิงประวัติศาสตร์

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

        เป็นภูเขาที่สถาปัตยกรรมปราสาทหิน

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

        มีการพัฒนาบันไดสำหรับขึ้นบนยอดเขา

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีข้อมูล -