สถานที่ตั้ง
จังหวัด แม่ฮ่องสอน อำเภอ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ตำบล ห้วยผา 58000
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ถ้ำ
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ถ้ำปลา จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ เป็นถ้ำใต้เชิงเขา มีธารน้ำไหลออกมาจากถ้ำตลอดทั้งปี บริเวณปากถ้ำเป็นวังน้ำกว้างประมาณ 2 เมตร และลึก 1.5 เมตร เป็นถ้ำที่มีปลาว่ายออกไปมาที่บริเวณแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งปลาที่นี่จะเป็นปลาพลวงสีน้ำเงิน จำนวนมากมีทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ เป็นเอกลักษณ์ของถ้ำ ถ้ำปลายังมีทิวทัศน์ของสภาพป่า หน้าผาเขาหินปูน อันเป็นธรรมชาติที่สวยงามมาก ถ้ำปลาอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1095 (แม่ฮ่องสอน-แม่มาลัย) ระหว่างกิโลเมตรที่ 191-192 ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเพียง 17 กิโลเมตร
ตำนานความเชื่อ
ถ้ำปลาตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ ถ้ำแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ภายในมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่กว้างประมาณ 2 เมตร และลึกประมาณ 1.5 เมตร โดยแอ่งน้ำนี้มาจากน้ำที่ไหลมาจากถ้ำใต้ภูเขา และมีฝูงปลามาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำปลา โดยฝูงปลาเหล่านี้เป็นปลาท้องถิ่น เช่น ปลาคัง และ ปลามุง ที่อาศัยอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และไม่มีใครกล้าจับไปทำอาหารเพราะมีความเชื่อกันว่าปลาเหล่านี้เป็นปลาของเจ้าที่สถิตย์อยู่
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา
- เป็นเขาหินปูน
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ
ถ้ำปลาตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ ถ้ำแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ภายในมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่กว้างประมาณ 2 เมตร และลึกประมาณ 1.5 เมตร โดยแอ่งน้ำนี้มาจากน้ำที่ไหลมาจากถ้ำใต้ภูเขา และมีฝูงปลามาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำปลา โดยฝูงปลาเหล่านี้เป็นปลาท้องถิ่น เช่น ปลาคัง และ ปลามุง ที่อาศัยอยู่กันอย่างอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และไม่มีใครกล้าจับไปทำอาหารเพราะมีความเชื่อกันว่าปลาเหล่านี้เป็นปลาของเจ้าที่สถิตย์อยู่
ประเภทการใช้ประโยชน์
- แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ - นิเวศวิทยา
สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ
ถ้ำปลา หรือ อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา – น้ำตกผาเสื่อ เป็นหนึ่งในสถานที่เที่ยวยอดนิยมของแม่ฮ่องสอน บริเวณโดยรอบเป็นลําธารและป่าเขาที่ยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ถ้ำปลามีลักษณะเป็นโพรงปากถ้ำและมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่กว้างประมาณ 2 เมตร ลึก 1.50 เมตร ภายในแอ่งน้ำมีน้ำไหลออกจากถ้ำใต้ภูเขาอยู่ตลอดเวลา น้ำค่อนข้างใสสะอาด เป็นที่อยู่อาศัยของปลาพลวง ภาษาเหนือเรียกว่าปลาพุง หรือ ปลามุง ปลาชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามน้ำตกและธารน้ำในป่า เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน และ ปลาคาร์ฟ ถ้ำปลาในอดีตถูกจัดว่าเป็นวนอุทยาน และได้เปลี่ยนเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2552
สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก
- ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว บ้านพัก ร้านค้า ห้องน้ำ