สถานที่ตั้ง

จังหวัด สงขลา อำเภอ อำเภอรัตภูมิ ตำบล คูหาใต้ 90180

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ภูเขา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

 เขาคูหา ตั้งอยู่ใน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นภูเขาที่ตั้งอยู่อย่างโดดเด่นและสวยงดงามมาก เมื่อก่อนบริเวณนี้มีการทำสัมปทานเหมืองหิน และมีการระเบิดภูเขาทำให้ภูเขามีรูปร่างแปลกตา และต่อมาเมื่อไม่มีการต่ออายุสัมปทาน เกิดกลุ่มอนุรักษ์เขาคูหาเข้ามาดูแลพื้นที่ และเห็นประโยชน์ของพื้นที่ต่อส่วนรวม จึงพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชาวบ้านในพื้นที่จึงใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หรือบ้างก็เข้าไปท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นบริเวณทีมีบรรยากาศวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม จึงเป็นจุดชมวิวของชุมชนในพื้นที่ และผู้ที่พบเห็นสนใจ

ตำนานความเชื่อ

“เขาคูหา” เดิมชื่อ "เขาโคหาย" เนื่องจากพื้นที่โดยรอบมีทุ่งนากว้างใหญ่ และป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านมักนำสัตว์เลี้ยง เช่น โค-ควายมาเลี้ยงบริเวณพื้นที่รอบๆภูเขา แต่ก็มักเกิดเหตุสัตว์เลี้ยงหายไปเป็นประจำ ชาวบ้านออกตามหาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ จึงสันนิษฐานกันว่า อาจเป็นสัตว์จำพวกเสือลงมาจากภูเขาลากเอาไปกิน จากนั้นชาวบ้านในท้องถิ่นจึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า เขาโคหาย ต่อมา สำเนียงเปลี่ยนเพี้ยนไปตามกาลเวลา กลายเป็น “เขาคูหา”

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

เป็นภูเขาและพื้นราบ พื้นที่ภูเขาในอำเภอรัตภูมิ เป็นภูเขาในยุคดึกดำบรรพ์โดยบริเวณบ้านจังโหลน ตำบลคูหาใต้  เป็นพื้นที่ภูเขาหินปูนในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 270 ล้านปีมาแล้ว (บทความ นางวรรณี นวลแก้ว นักวิชาการศาสนาช านาญการ ส านักงานพระพุทธศาสนา จ.สงขลา) 

เขาคูหา มีพัฒนาการการท าหิน แบ่งหด้ตามลักษณะการด าเนินการท าหิน หด้ ๓ ยุคสมัย

- ยุคแรก ยุคบุกเบิกโดยรัฐ และชุมชนทำใช้ ประมาณปีพ.ศ.๒๕๐๐ถึง พ.ศ.๒๕๑๕

- ยุคสอง ยุคเอกชนเช่ารัฐทำขาย ประมาณปีพ.ศ.๒๕๑๕ ถึง พ.ศ.๒๕๓๘ 

- ยุคสาม ยุคธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองหิน ประมาณปีพ.ศ.๒๕๓๘ ถึง พ.ศ.๒๕๕๓

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

'เขาคูหา' เป็นภูเขาลูกโดด ตั้งอยู่กลางท้องทุ่งในตำบลคูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ภูเขาแห่งนี้ถูกตีค่าเป็นทรัพยกรธรรมชาติของรัฐ และถูกใช้ประโยชน์โดยการระเบิดเพื่อนำหินปูนไปแปรรูปมาตั้งแต่ปี 2500 โดยในช่วงแรกยังเป็นการดำเนินการโดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เป็นการเรียนรู้กระบวนการแปรรูปหิน ส่วนใหญ่เป็นการทำหินเพื่อใช้สอย และซื้อขายกันภายในชุมชน เช่นนำไปทำหัวเสาบ้าน ทำเป็นคอสะพาน ทำถนนภายในชุมชน ต่อมาในปี 2515 - 2538 เริ่มมีภาคเอกชนเข้ามาทำกิจการโรงโม่หิน ระเบิดหิน และย่อยหินขาย อย่างไรก็ตามการดำเนินการในช่วงเวลานี้ ยังเป็นการใช้วิธีการเก่าอยู่ คือมีการโรยตัวลงมาจากหน้าผา และฝังระเบิดเข้าไป ซึ่งทำให้สภาพความเสียหายต่อชุมชนยังไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำในชุมชน สร้างเสียงรบกวนบ้านเรือน และโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียง

ประเภทการใช้ประโยชน์

- เป็นที่ท่องเที่ยว จุดชมวิวที่สวยงาม

- เป็นสถานที่ออกกำลังกายของชุมชน

- เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติ

- เป็นแหล่งอนุบาล/หลบภัยของสัตว์น้ า

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

-ป้ายสื่อสาร

- ลานจอดรถ 

- ห้องน้ำ

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
คุณค่าการใช้ประโยชน์
- ไม่มีรูปภาพ -
คุณค่าความสำคัญ
- ไม่มีรูปภาพ -
ผลกระทบที่พบเห็น
- ไม่มีรูปภาพ -
ลักษณะทั่วไป
- ไม่มีรูปภาพ -
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีรูปภาพ -
หัวหน้า
- ไม่มีรูปภาพ -
อื่นๆ
- ไม่มีรูปภาพ -
เจ้าหน้าที่
- ไม่มีรูปภาพ -
แผนที่
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -