สถานที่ตั้ง
จังหวัด สงขลา อำเภอ อำเภอหาดใหญ่ ตำบล คอหงส์ 90110
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ภูเขา
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
เขาคอหงส์ ตั้งอยู่ใน ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นเทือกเขาและผืนป่าใหญ่ ตั้งอยู่ในพื้นที่สวนสาธารณเทศบาลนครหาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มียอดเขาสูงสุดจากน้ำทะเล 371 เมตร เป็นพื้นที่สีเขียวผืนสุดท้ายของเมืองหาดใหญ่ และเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญด้านบริโภคและการเกษตร บริเวณรอบๆ เขาแห่งนี้ เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณในอดีต บนยอดเขาเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมงคลมหาราช พระพุทธรูปปางห้ามญาติ ที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ และเป็นพระพทุธรูปประจำเมืองหาดใหญ่
มีกระเช้าลอยฟ้าบริการสำหรับขึ้นลงเขาคอหงส์ เป็นจุดชมวิวที่ตั้งอยู่ในบริเวณสวนสาธารณะกลางเมืองหาดใหญ่
ประชาชนในพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวใช้เป็นที่วิ่งออกกำลังกายยามเย็น
ตำนานความเชื่อ
เขาคอหงส์" ผืนป่าแห่งสุดท้ายของเมืองหาดใหญ่ เขาคอหงส์ยังเปรียบได้กับปอดที่คอยฟอกอากาศให้คนหาดใหญ่ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญ และบริเวณรอบๆเขาแห่งนี้ เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณในอดีต ซึ่งเมืองโบราณแห่งนั้นมีนามว่า "เมืองสุริยนครัมย์" หรือ "เมืองพระอาทิตย์" อันเป็นเมืองโบราณเมื่อราวๆ 5,000 ปีที่แล้ว โดยชุมชนแห่งนี้เชื่อว่าถูกปกครองโดย "พระเจ้าอาทิตย์" มีแม่ทัพเอกนามว่า "ท่านขุนพลายดำ" แต่บางตำนานเล่าว่า "ท่านขุนพลายดำ" คือผู้ปกครองเมืองสุริยนครัมย์ ชาวคอหงส์เชื่อว่า "ท่านขุนพลายดำ" ใช้เขาคอหงส์เป็นที่บัญชาการ (ค่ายทหาร) และขุนพลายดำถือได้ว่าเป็นนักรบที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่ง คอยปกป้องรักษาบ้านเมืองจากข้าศึกที่เข้ามารุกราน จนกลายเป็นที่รักและนับถือของอาณาประชาราษฏร์โดยทั่วไป
ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ และเป็นพระพทุธรูปประจำเมืองหาดใหญ่
ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา
ลักษณะทางธรณีวิทยาของเขาคอหงส์ หินเกือบทั้งหมดเป็นหินชั้นและหินแปร ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส (362 - 290 ล้านปี) บริเวณโดยรอบบางส่วนเป็นหินชนิดเดียวกัน แต่อยู่ในยุคควอเทอร์นารี (1.64 ล้านปี - ปัจจุบัน) ทางตอนกลางของฝั่ง ตะวันออกมีหินอัคนียุคไตรแอสซิก (248 - 205 ล้านปี) และจูแรสซิก (205 - 144 ล้านปี)
ประเภทการใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์พื้นที่เขาคอหงส์มี ความหลากหลาย เช่น
- การก่อสร้างสวนสาธารณะโดยเทศบาลนครหาดใหญ่
- ใช้เป็นสถานที่ราชการของมณฑลทหาร บกที่ 42 (ค่ายเสนาณรงค์)
- ศูนย์วิจัยยางสงขลา ของมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์
- ส่วนของภาคเอกชนนั้นมี การใช้พื้นที่เพื่อทำสวนยางเป็นส่วนใหญ่ และการสร้างที่อยู่อาศัย
- ใช้เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน
- เป็นสถานที่ออกกำลังกายของประชาชน