สถานที่ตั้ง

จังหวัด เชียงราย อำเภอ อำเภอเวียงแก่น ตำบล ปอ 57310

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ภูเขา

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

ดอยผาตั้ง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ดอยผาตั้งเป็นยอดดอยอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง สันปันน้ำเป็นจุดแบ่งอาณาเขตระหว่างประเทศไทย-ลาว    ผาตั้งมีจุดเด่นอยู่ที่ผาบ่องหรือประตูสยาม เป็นจุดที่ภูเขามีโพรงทะลุ เมื่อเดินผ่านช่องเขาลงไปจะเป็นหน้าผาเขตแดนไทย-ลาว มีจุดชมวิวที่ช่องผาขาดและบนยอดเขาสำหรับชมทัศนียภาพของทะเลหมอกยามพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งจะเห็นได้หมอกก่อตัวในหุบเขาของแม่น้ำโขงในฝั่งประเทศลาว แล้วจึงไหลข้ามสันเขาผ่านจุดชมวิวของฝั่งไทย นอกจากนี้ยังสามารถเยี่ยมชมวัฒนธรรมของชุมชนกองพล 93 ในฤดูท่องเที่ยว นอกจากการสัมผัสความหนาวเย็นแล้ว ยังเป็นช่วงเทศกาลดอกไม้บานอีกด้วย

ตำนานความเชื่อ

-

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

- ดอยผาตั้งมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่คล้ายคลึงและต่อเนื่องกับภูชี้ฟ้า ผาตั้งเป็นกลุ่มหินยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน ประกอบด้วยหินปูนชั้นบางถึงชั้นหนาสลับกับหินชีสต์ หินฟิลไลต์ และหินภูเขาไฟ ชั้นหินวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เอียงตัวไปทางตะวันตก มีมุมเอียงเท 30-40 องศาจากแนวระดับ

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

ธรณีวิทยา    ผาตั้งมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่คล้ายคลึงและต่อเนื่องกับภูชี้ฟ้า ผาตั้งเป็นกลุ่มหินยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน ประกอบด้วยหินปูนชั้นบางถึงชั้นหนาสลับกับหินชีสต์ หินฟิลไลต์ และหินภูเขาไฟ ชั้นหินวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เอียงตัวไปทางตะวันตก มีมุมเอียงเท 30-40 องศาจากแนวระดับ
ลักษณะ         ภูมิประเทศ    ผาตั้งแสดงลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ (karst topography) ซึ่งพบเห็นได้ในพื้นที่หินปูนทั่วไป นอกจากหน้าผาสูงชันแล้วยังมีโพรง ถ้ำ และหลุมยุบเกิดร่วมร่วมด้วยแต่ไม่เด่นชัดเหมือนหน้าผา เนื่องจากหินปูนทั้งหมดมีความหนาไม่มากนัก นอกจากนี้ยังถูกแทรกสลับด้วยหินชนิดอื่นที่ไม่ใช่หินปูนอีกด้วย
ดิน    ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว
น้ำ    -
ขยะ    เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยว ขยะส่วนมากจึงมาจากนักท่องเที่ยว การจัดการขยะในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเป็นความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลปอ
ภูมิทัศน์    -

 

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

พืชพรรณ    พรรณไม้ส่วนใหญ่เป็นหญ้า
สัตว์ป่า    ไม่พบสัตว์ป่าขนาดใหญ่ พบสัตว์จำพวกนกประจำถิ่น

 

ประเภทการใช้ประโยชน์

มีการใช้ประโยชน์ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

- พื้นที่บริเวณโดยรอบเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมแบบผสมผสานกับวัฒนธรรมแบบจีน
- มีการจัดลำดับการเข้าถึงแหล่งโดยใช้ทางเดินดินเชื่อมไปยังจุดต่างๆ

 

โครงการพัฒนา

-

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

ลานกางเต็นท์ ร้านอาหาร ห้องน้ำ และจุดบริการนักท่องเที่ยว

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
- ไม่มีรูปภาพ -
- ไม่มีข้อมูล -