สถานที่ตั้ง
จังหวัด บุรีรัมย์ อำเภอ อำเภอสตึก ตำบล สะแก 31150
ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
แหล่งน้ำ
สถานภาพ
- แหล่งธรรมชาติท้องถิ่น
ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
กุดซิน.... ชาวบ้านเรียกว่า ....กุดศอก.... เพราะลักษณะสภาพพื้นที่ของกุดซินมีลักษณะงอเหมือนแขนศอก ชาวบ้านจึงเรียกว่า ....กุดศอก... เมื่อถึงฤดูร้อนหน้าแล้งเดือนเมษายน พืชพรรณไม้ที่ขึ้นในบริเวณกุดซิน ซึ่งได้แก่ ต้นแซง ต้นไผ่ป่าและพรรณไม้ป่าทามอื่น ๆ ก็จะถูกไฟไหม้ไปบ้าง แต่เนื่องจากกุดซินเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำจึงมีบางแห่งเป็นแอ่งน้ำมีทั้งลึกและ น้ำตื้น ทำให้มีสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและในน้ำก็มีปลามาอาศัยอยู่มากมายหลายชนิด จากสภาพพื้นที่กุดซินที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพรรณไม้และสัตว์ป่านา ๆ ชนิดกุดซินจึงเป็นแหล่งไล่ล่าหาอาหารของชาวบ้านในบริเวณพื้นที่โดยรอบกุดซิน กุดซินเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) บริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง ในเขต บ้านสะแก-มะพริก ตำบลสะแก อำเภสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่องน้ำในอดีต กลายเป็นกุดที่มีระบบนิเวศอุดมสมบุรณ์ตั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน บริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง มีความอุดมสมบูรณ์
เมื่อก่อนชาวบ้านไม่ได้เรียกชื่อว่า ....กุดซิน.... ชาวบ้านเรียกว่า ....กุดศอก.... เพราะลักษณะสภาพพื้นที่ของกุดซินมีลักษณะงอเหมือนแขนศอก ชาวบ้านจึงเรียกว่า ....กุดศอก... เมื่อถึงฤดูร้อนหน้าแล้งเดือนเมษายน พืชพรรณไม้ที่ขึ้นในบริเวณกุดซิน ซึ่งได้แก่ ต้นแซง ต้นไผ่ป่าและพรรณไม้ป่าทามอื่น ๆ ก็จะถูกไฟไหม้ไปบ้าง แต่เนื่องจากกุดซินเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำจึงมีบางแห่งเป็นแอ่งน้ำมีทั้งลึกและ น้ำตื้น ทำให้มีสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกมรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและในน้ำก็มีปลามาอาศัยอยู่มากมายหลายชนิด จากสภาพพื้นที่กุดซินที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพรรณไม้และสัตว์ป่านา ๆ ชนิด กุดซินจึงเป็นแหล่งไล่ล่าหาอาหารของชาวบ้านในบริเวณพื้นที่โดยรอบกุดซิน วันหนึ่งมีกลุ่มชาวบ้านผู้หญิงมาขุดหามันแซงบริเวณกุดซินหลังจากที่ได้มันแซงมากพอแล้ว จึงพากันลงอาบน้ำที่กุดซิน แล้วก็กลับบ้าน เผอิญมีผู้หญิงลืมผ้าถุงทิ้งไว้ (ผ้าถุง เดิมชาวอีสานเรียกว่า...ซิ้น...) วันต่อมาจึงได้กลับมาเอาผ้าซิ้นที่ลืมไว้ที่กุดซิน ปรากฏว่าผ้าซิ้นที่ลืมไว้นั้นถูกลิงป่าฉีกผ้าซิ้นออกเป็นชิ้นละเอียด หมดแล้ว ชาวบ้านจึงเรียก...กุดศอก... ว่าเป็น ...กุดซิน... ตั้งแต่นั้นมา (เรื่องเล่า : พ่อจันทร์ เครือจันทร์) (ชมรมครูไอซีที)
ตำนานความเชื่อ
- เมื่อก่อนชาวบ้านไม่ได้เรียกชื่อว่า ....กุดซิน.... ชาวบ้านเรียกว่า ....กุดศอก.... เพราะลักษณะสภาพพื้นที่ของกุดซินมีลักษณะงอเหมือนแขนศอก ชาวบ้านจึงเรียกว่า ....กุดศอก... เมื่อถึงฤดูร้อนหน้าแล้งเดือนเมษายน พืชพรรณไม้ที่ขึ้นในบริเวณกุดซิน ซึ่งได้แก่ ต้นแซง ต้นไผ่ป่าและพรรณไม้ป่าทามอื่น ๆ ก็จะถูกไฟไหม้ไปบ้าง แต่เนื่องจากกุดซินเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำจึงมีบางแห่งเป็นแอ่งน้ำมีทั้งลึกและ น้ำตื้น ทำให้มีสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกมรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและในน้ำก็มีปลามาอาศัยอยู่มากมายหลายชนิด จากสภาพพื้นที่กุดซินที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพืชพรรณไม้และสัตว์ป่านา ๆ ชนิด กุดซินจึงเป็นแหล่งไล่ล่าหาอาหารของชาวบ้านในบริเวณพื้นที่โดยรอบกุดซิน วันหนึ่งมีกลุ่มชาวบ้านผู้หญิงมาขุดหามันแซงบริเวณกุดซินหลังจากที่ได้มันแซงมากพอแล้ว จึงพากันลงอาบน้ำที่กุดซิน แล้วก็กลับบ้าน เผอิญมีผู้หญิงลืมผ้าถุงทิ้งไว้ (ผ้าถุง เดิมชาวอีสานเรียกว่า...ซิ้น...) วันต่อมาจึงได้กลับมาเอาผ้าซิ้นที่ลืมไว้ที่กุดซิน ปรากฏว่าผ้าซิ้นที่ลืมไว้นั้นถูกลิงป่าฉีกผ้าซิ้นออกเป็นชิ้นละเอียด หมดแล้ว ชาวบ้านจึงเรียก...กุดศอก... ว่าเป็น ...กุดซิน... ตั้งแต่นั้นมา
- เมื่อก่อนนั้น ยายแฮม เป็นคนบ้านหนองแสง มาทำนาทามที่บริเวณพื้นที่ดอนแก้วช่วงหลังมายายแฮมจึงมีผีมาเข้าสิง ยายแฮมจึงได้ใช้วิญญาณผีสิงนั้นไปรักษาคนป่วยในพื้นที่ โดยใช้นามว่า ..แม่แก้ว.. คนทั่วไปจึงเรียกยายแฮมว่า ..แม่แก้วดอนแก้ว... คือเมื่อมีคนป่วยมาบอกให้ยายแฮมไปรักษา ยายแฮมก็จะเรียกให้แม่แก้วดอนแก้วเข้าสิง การรักษาในครั้งนั้นมีความน่าเชื่อถือมาก เช่น เมื่อบอกว่าคนที่ป่วยจะตายคนที่ป่วยนั้นก็เป็นไปตามนั้น เป็นต้น การเรียกแม่แก้วดอนแก้วเข้าสิงจะเป็นลักษณะ ..รำแม่มด.. หรือบางคนเรียกยายแฮมว่าเป็น..นางเทียม... ความเชื่อกับความศักดิ์สิทธิ์ของกุดซิน จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่าว่าชาวบ้านที่มาเลี้ยงวัวเลี้ยงควายในพื้นที่กุด ซิน ก่อนที่จะกินข้าวตอนเที่ยงวัน ชาวบ้านก็จะต้องเรียกหาเรียกให้มากินข้าวด้วยเสมอ .... ความเชื่อของผู้คนที่เข้ามาที่พื้นที่กุดซินจะต้องพูดดี พูดงาม พูดแต่สิ่งที่ดีดีกับเจ้าแม่ดอนแก้ว เมื่อไล่วัวควายจะข้ามฟากระหว่างฝั่งชุมพลบุรีกับฝั่งสตึกบริเวณพื้นที่กุด ซิน ชาวบ้านจะเรียกหาเจ้าแม่ดอนแก้ว เช่น ...เอาเด้อ เจ้าพ่อ เจ้าแม่กุดซินเอ้ย ดูแลรักษาเด้อ? เป็นประจำ ซึ่งมีครั้งหนึ่งที่ชาวบ้านนำวัวข้ามฟากแล้วไม่ได้เรียกหา ปรากฏว่าวัวจมน้ำเกือบตาย ดังนั้นเมื่อน้ำไหลหลากในฤดูน้ำหลากมาครั้งใดชาวบ้านจะต้องเตรียมขันหมาก กอกยามาวางถวายเสมอ ซึ่งเมื่อครั้งที่วัวจมน้ำตายนั้น ชาวบ้านก็ไปดูหมอดู หมอดูก็บอกว่า เจ้าของวัวไม่ได้บอกเจ้าท่า เจ้าพ่อกุดซินจากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ทุกคนที่นำวัวควายข้ามฝั่งบริเวณ นั้นก็เข้าใจและต้องเรียกหา เจ้าพ่อกุดซินทุกครั้ง (คำบอกเล่าของพ่อทองนาค ชุมพลบุรี)ชาวบ้านในพื้นที่ฝั่งตำบลสะแก ก็มีครอบครัวของพ่อสอน พลสมัคร ที่เกิดโรคระบาดเกี่ยวโรควัวควายขึ้น พ่อสอนจึงนำวัวควายมาเลี้ยงในพื้นที่กุดซิน ในครั้งนั้นแม่ใหญ่หมาตุ้ย เป็นคนชอบดุด่าว่ากล่าวลูกหลาน ลูกหลานจึงโกรธจึงหลุดปากบอกให้เจ้าพ่อกุดซินมาบิดปากแม่ใหญ่หมาตุ้ยหน่อย ปรากฏว่า 2-3 วันต่อมา แม่ใหญ่หมาตุ้ยก็ปากเบี้ยวจริง ๆ และหลังจากที่ได้จัดพาหวานมาถวาย (พาหวาน 4 คำ หมาก 2 คำ ยา 2 กอก) แล้วมาอ่อนมายอมขอขมากับเจ้าพ่อกุดซิน จึงทำให้แม่ใหญ่หมาตุ้ยหายจากอาการปากเบี้ยวใน 2-3 วันต่อมา
จากเหตุการณ์ดังกล่าวยิ่งทำให้ชาวบ้านเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของกุดซินมากยิ่ง ขึ้นความเชื่อของชาวบ้านกับพื้นที่กุดซิน ที่ได้พบกับเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในสถานที่จริงเกี่ยวกับคน สัตว์ ในอดีตกว่า 50 ปี เริ่มจากเกิดเหตุการณ์ขึ้นคนป่วยหรือชาวบ้านจะไปดูหมอมอแล้วหมอมอก็จะบอก ว่า เจ้าพ่อกุดซินมาเป็นผู้ทำให้เกิดปรากฏการณ์นั้นเสมอ ดังนั้นบทสรุปของชาวบ้านยังยืนยันว่า กุดซินมีเจ้าของรักษาอยู่เพราะเหตุการณ์ที่เกิดกับตัวเอง หรือเกิดกับวัว ควายที่เทียมแอกเทียมเกวียนนั้น วัวหาย วัวควายล้มตายลง แต่เมื่อมีการไปอ้อนวอนจากเจ้าพ่อกุดซินก็หายไปหรืออาการต่าง ๆ ก็จะดีขึ้นในปัจจุบันชาวบ้านที่ทำนารอบ ๆ กุดซิน ก่อนที่จะทำนาจะต้องจัดพาหวานมาถวายบอกเล่าก่อนทุกครั้ง.....(คำบอกเล่า พ่อสอน พลสมัคร)
ประเมินผลแหล่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ประเมินด้านคุณค่า : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี
ประเมินด้านศักยภาพ : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี
ประเมินด้านความเสี่ยง : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี
ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม : ยังไม่เปิดให้ประเมินประจำปี