สถานที่ตั้ง

จังหวัด จันทบุรี อำเภอ อำเภอแหลมสิงห์ ตำบล พลิ้ว 22190

ประเภทสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

น้ำตก

สถานภาพ

- แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ (มติ ครม. วันที่ 7 พ.ย. 2532)

ความสำคัญ/ลักษณะของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

      น้ำตกพลิ้ว ที่ตั้งอยู่ในเขตของ เทือกเขาสระบาป อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ภายในอุทยานน้ำตกพลิ้ว   เป็นน้ำตกที่มีโครงสร้างทางธรรมชาติที่ดี หายาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม และเป็นน้ำตกที่มีพระมหากษัตริย์ของไทย 3 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5, รัชกาลที่ 6 และระชการที่ 7 ได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตรความสวยงามและได้จารึกพระปรมาภิไชยย่อไว้บนก้อนหินขนาดใหญ่ บริเวณหน้าผาเหนือต้นน้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่และสวยงาม มีสายน้ำ 2 สาย โดยสายหนึ่งจะไหลผ่านซอกหินผา อีกสายหนึ่งจะเป็นขนาดเล็กกว่า แต่ไหลลงมาจากผาสูงถึง 20 เมตร ซึ่งทั้งสองสายนี้ จะไหลมารวมกันในแอ่งน้ำใส ใสจนสามารถมองเห็นพื้นด้านล่างได้  ภายในบริเวณน้ำตกเต็มไปด้วยปลามากมายหลายชนิด โดยเฉพาะปลาพลวงหินที่มีเยอะและตัวใหญ่มาก

 

ตำนานความเชื่อ

ตำนานความรัก ของ ในหลวงรัชกาลที่ 5

     อลงกรณ์เจดีย์ อยู่ด้านข้างเยื้องจากพีระมิดขึ้นมาด้านบน ในหลวงรัชกาลที่ 5  ทรงโปรดให้สร้างในปีพ.ศ. 2419 เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วพร้อมพระนางเรือล่ม และด้วยตำนานความรักที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงมีให้แก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทำให้เกิดเป็นเรื่องเล่าว่า หากคู่รักคู่ใดได้มากราบไหว้สักการะพีระมิดแห่งรักนี้ ก็จะสมหวังและมีความรักที่มั่นคงยั่งยืน ทำให้มีนักท่องเที่ยวมากมายเดินทางมาเพื่ออธิษฐานให้รักสมหวัง รวมไปถึงมาชมความสวยงามของน้ำตกพลิ้วด้วย

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

พระมหากษัตริย์ของไทย 3 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5, รัชกาลที่ 6 และระชการที่ 7 ได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตรความสวยงามและได้จารึกพระปรมาภิไชยย่อไว้บนก้อนหินขนาดใหญ่ บริเวณหน้าผาเหนือต้นน้ำตกพลิ้ว  เป็นน้ำตกที่รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสถึง 12 ครั้ง  และทรงโปรดให้สร้าง พีระมิดแห่งความรัก เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี โดยภายในสถูปนั้น ก็จะบรรจุพระอังคารของพระนางเจ้าฯ  จนชาวบ้านเรียกกันติดปากสืบมาว่า พีระมิดพระนางเรือล่ม

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางธรณีวิทยา

     ชั้นหินที่สำคัญในแนวนี้ประกอบด้วย หินแกรนิต

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

  • ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มียอดเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบแคบๆ บริเวณไหล่เขา พื้นที่มีความลาดชันสูง 
  • น้ำ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี
  • ขยะ พบเห็นขยะในเส้นทางเล็กน้อย

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

  • พืชพรรณ สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ พุงทะลาย เคี่ยมคะนอง กระบกกรัง พนอง ตะเคียนหิน ยางแดง กฤษณา ตาเสือ พะวา ชะมวง จิกดง ปออีเก้ง และขนุนป่า พืชพื้นล่างอีกหลายชนิด เช่น หัสคุณ ฆ้อนตีหมา แก้มขาว หวายลิง กะพ้อ ระกำ เต่าร้าง ไผ่ซี้ เร่วป่า ปุดใหญ่ และกระทือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพืชอิงอาศัยหลายชนิด ได้แก่ ชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ข้าหลวงหลังลาย เกล็ดนาคราช และกล้วยไม้นานาชนิด เช่น กะเรกะร่อน เหลืองจันทบูร และเอื้องมัจฉา ไม้เถาเลื้อยที่พบ ได้แก่ พญาปล้องทอง เถาคัน พญาเท้าเอว แสลงพันเถา หวายกำพวน หวายขริง และหวายเล็ก เป็นต้น
  • สัตว์ป่า สัตว์ป่าที่พบทั่วไป ได้แก่ เลียงผา หมูป่า อีเห็นข้างลาย ลิงกัง ชะนีมงกุฎ ลิ่นชวา อีเห็นข้างลาย กระแตเหนือ กระรอกแดง ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวปีกถุงต่อมคาง หนูฟานเหลือง เป็ดแดง ไก่ป่า นกหกเล็กปากแดง นกกระปูดใหญ่ นกเด้าลมหลังเทา นกเฉี่ยวดงหางสีน้ำตาล นกขมิ้นน้อยสวน นกเขียวคราม นกปรอดทอง นกแซงแซวหางปลา นกกินแมลงอกเหลือง นกกระจิบสวน นกกางเขนดง นกกินปลีคอแดง นกสีชมพูสวน ตุ๊กแกป่าตะวันออก จิ้งจกหางแบน กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนหลากหลาย ตะกวด งูลายสาบเขียวขวั้นดำ งูเขียวหัวจิ้งจกป่า คางคกบ้าน กบอ่อง เขียดตะปาด และอึ่งอ่างบ้านฯลฯ นอกจากนี้ยังมีปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาสร้อยขาว ปลากดหิน ปลาค้อ ปลาจิ้งจก ปลาพลวงหิน ปลากระทิง และปลาสร้อยลูกกล้วย เป็นต้น

ประเภทการใช้ประโยชน์

     การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และการศึกษาวิจัยในพื้นที่

โครงการพัฒนา

     มีการก่อสร้างศาลา ที่นั่ง สะพานข้ามน้ำ ทางเดินและบันไดขึ้นลงน้ำตก ไว้คอยอำนวยความสะดวกให้กับผู้มาเยือน

สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

     นักท่องเที่ยวมีการให้อาหารแก่ปลาพลวง ส่งผลให้ปลาพลวงไม่ยอมอาหารเองตามธรรมชาติและมารวมกันอย่างหนาแน่นเพื่อรับอาหาร

ข้อมูลทางสถิติ
ระดับความสำคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทน้ำตก
แผนที่
ลักษณะทั่วไป
คุณค่าความสำคัญ
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ไม่มีข้อมูล -