ระหว่างวันที่: 05 ก.พ. 2019 - 08 ก.พ. 2019

แผนปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติประเภทน้ำตก นำร่องน้ำตกธารารักษ์ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก: ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อพ. สธ.-สผ.) ระยะที่ ๕ ปีที่ หก (ตุลาคม ๒๕๕๙-๒๕๖๔) สผ. ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานฯ โดยมีการจัดประชุมหารือ ในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ 2562

            ได้มีการเก็บข้อมูลด้านพันธุกรรมพืชและสัตว์ในพื้นที่บ้านเจดีย์โคะ ร่วมกับสำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑๔ ตาก และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ (ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า) และองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน (อบต. มหาวัน) ณ ห้องประชุมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามที่ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๒ ให้หน่วยงานที่มีภารกิจที่สอดคล้องกับแผนฏิบัติงานฯ ของ (อพ.สธ.-สผ.) และในวันนี้ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ได้นำเสนอผลการสำรวจสัตว์เบื้องต้นบริเวณน้ำตกธารารักษ์ ครั้งที่ ๑ ในช่วงฤดูหนาว (ในช่วงเดือนมกราคม ๒๕๖๒)

            ผลการประชุมหารือ การจัดเก็บข้อมูล วิธีเก็บ เวลา/ระยะเวลาที่เก็บ ฤดูกาล จำนวนคน/ครั้ง ซึ่งการเก็บข้อมูลด้านทรัพยากรป่าไม้ สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑๔ ตาก ด้านทรัพยากรสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ และด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตชุมชน โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ ชุมชน และ อบต. มหาวัน เป็นหลักในการเก็บข้อมูล โดยมีสผ. สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ในการสำรวจพืชหรือสัตว์บางชนิดเพิ่มเติมด้วย

            และจัดอบรมเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการอนุรักษ์น้ำตกธารารักษ์ ให้กับผู้นำและชุมชนบ้านเจดีย์โคะ หมู่ ๖ ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประมาณ 120 คน โดยวิทยากร นายพิศาล ตันสิน ผู้ช่วยคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และเจ้าหน้าที่ สผ. ให้ชุมชนได้รับทราบถึงที่มาของโครงการฯ  แนวคิดในการวางแผนด้านนันทนาการ การวางแผนจัดการพื้นที่ (ระดมสมอง ประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมภาษณ์/แบบสอบถาม การประนีประนอม การเจรจาต่อรอง และการทำประชาพิจารณ์)  การวางแผนด้านสังคม (ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน สร้างความเข้าใจถึงพื้นที่ที่รองรับการใช้ประโยชน์ได้ และควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เหมาะสม)  และด้านทรัพยากร (ความงามธรรมชาติที่มีอยู่เดิม สิ่งก่อสร้างที่ควรมี/และไม่ควรมี สิ่งที่ควรระมัดระวัง ระเบียบประเพณีในพื้นที่ที่มี)  และการกำหนดเขตในการบริหารจัดการที่เหมาะสม ที่ต้องมีการหนดเป็นเขตฟื้นฟูธรรมชาติ เขตโบราณสถาน-โบราณวัตถุ เขตการใช้ประโยชน์เพื่อพื้นที่พิเศษ และเขตกันชน) ซึ่งมีความสอดคล้องกกับพื้นที่ที่ สผ. ได้กำหนดในเบื้องต้น รวมทั้งได้มีการกำหนดรูปแบบที่จะมีการปรับปรุงภูมิทัศน์เท่าที่จำเป็นเสนอต่อชุมชน เช่น รูปแบบอาคารร้านค้า วัสดุที่มีในธรรมชาติ เช่น ไผ่ การเสริมภูมิทัศน์บริเวณด้านหน้าน้ำตก เช่น สิ่งก่อสร้างที่มีอยู่เดิม จัดให้มีทางน้ำไหลได้มากขึ้น เก็บรายละเอียดริมบ่อน้ำให้สะอาด เสริมต้นไม้ประจำถิ่นบริเวณด้านหน้าน้ำตกลดความร้อน และยังเพิ่มความสวยงาม เช่น ต้นไคร์ย้อย เป็นต้น

         ผลการอบรมเสริมสร้างศักยภาพชุมชนฯ พบว่า ๑) ชุมชนมีความพึงพอใจและเข้าใจต่อความรู้ เกี่ยวกับการวางผังภูมิทัศน์ที่เหมาะสมต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริเวณน้ำตกธารารักษ์ และการกำหนดรูปแบบต่างๆ ที่จะมีการปรับปรุง สามารถที่จะดำเนินการได้แต่จะต้องดำเนินการเท่าที่จำเป็น เช่น รูปแบบอาคารร้านค้า วัสดุที่มีในธรรมชาติ ๒) ควรมีการจัดทำแผนหรือผัง ก่อนมีการดำเนินงาน และนำเสนอต่อคณะกรรมการหมู่บ้านหรือชุมชน เพื่อรับทราบและมีมติร่วมกัน ๓) การบริหารจัดการพื้นที่น้ำตก ควรมีการแบ่งระยะเวลาดำเนินการ เพื่อการพิจารณาที่รอบคอบมากขึ้น รวมถึงการจัดตั้งงบประมาณต่างๆ จากหน่วยงานที่ดำเนินการได้ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานการท่องเที่ยวและการกีฬาประจำจังหวัดตาก เป็นต้น และ ๔) สำหรับประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตต่างๆของชุมชน จะได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและจัดเก็บร่วมกับ สผ. และหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป

ข่าวสารและกิจกรรมภายในเดือน