ธรรมชาติ คือ
    ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพ ที่เกี่ยวข้องเป็นสัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์ อันเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ

การจัดกลุ่มแหล่งธรรมชาติ
  1. ธรรมชาติที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงและฟื้นฟูคืนสู่สภาพเดิมได้โดยระบบของตัวเอง เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า
  2. ธรรมชาติที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หรือฟื้นฟูคืนสู่สภาพเดิมได้เมื่อถูกทำลายก็จะหมดสภาพไป เช่น ภูเขา ถ้ำ น้ำตก

จำนวนแหล่งธรรมชาติในแต่ละภาคของประเทศไทย
    ที่ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ของท้องถิ่นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 จำนวน 263 แห่ง
ประเภทแหล่งฯ เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลางและตะวันออก ใต้ รวม
เกาะ - - 1 4 5
แก่ง 1 6 1 - 8
ภูเขา 6 19 5 6 36
ถ้ำ 13 9 7 14 43
น้ำตก 29 16 16 23 84
โป่งพุร้อน 2 - - 1 3
แหล่งน้ำ 3 10 2 5 20
ชายหาด 1 - 19 33 53
ซากดึกดำบรรพ์ - - - 1 1
ธรณีสัณฐาน 5 2 2 1 10
รวม 60 62 53 88 263
แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติเฉพาะแหล่ง

จำนวน 38 แผน ประกอบด้วย แหล่งธรรมชาติ ดังนี้

  1. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณถ้ำเมืองออน จังหวัดเชียงใหม่
  2. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณแก่งสะพือ จังหวัดอุบลราชธานี
  3. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณเสาหินเหลี่ยม จังหวัดตราด
  4. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณเขางู จังหวัดราชบุรี
  5. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณธารน้ำร้อนบ่อคลึง จังหวัดราชบุรี
  6. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณน้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก
  7. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณน้ำตกนางรอง จังหวัดนครนายก
  8. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณชายฝั่งสมเด็จพระนเรศวรฯ (หาดนเรศวร) จังหวัดเพชรบุรี
  9. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี
  10. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณหาดแม่พิม จังหวัดระยอง
  11. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณหาดแม่รำพึง จังหวัดระยอง
  12. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณซากไดโนเสาร์ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
  13. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี
  14. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
  15. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  16. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณชายฝั่งสมเด็จพระนเรศวรฯ (ตอนล่าง) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  17. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณเขาแก้ว - เขาหน่อ จังหวัดนครสวรรค์ และเขาสมโภชน์ จังหวัดลพบุรี
  18. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณถ้ำน้ำลอด จังหวัดแม่ฮ่องสอน และถ้ำหลวงนางนอน จังหวัดเชียงราย
  19. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม
  20. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณโป่งเดือดป่าแป๋ ผาจ้อ และผาวิ่งชู้ จังหวัดเชียงใหม่
  21. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณหาดสมิหลา หาดเก้าเส้ง และเกาะหนู - เกาะแมว จังหวัดสงขลา
  22. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณน้ำตกพาเจริญ จังหวัดตาก
  23. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณสะพานหิน จังหวัดกาฬสินธุ์
  24. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณถ้ำเสด็จ จังหวัดกระบี่
  25. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร
  26. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณน้ำตกห้วยจันทน์ จังหวัดศรีสะเกษ
  27. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณถ้ำเอราวัณ จังหวัดหนองบัวลำภู
  28. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณเขาปลาร้าและเขาฆ้องชัย จังหวัดอุทัยธานี
  29. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณหาดขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
  30. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณแก่งสลัดไดและน้ำตกตะคร้อ จังหวัดปราจีนบุรี
  31. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณเขาหินเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
  32. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณหาดทรายแก้ว หาดบานชื่นและหาดสุขสำราญ จังหวัดตราด
  33. แผนการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติบริเวณซากช้างดึกดำบรรพ์และ ซากไม้กลายเป็นหิน จังหวัดนครราชสีมา
  34. โครงการจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทโป่งพุร้อน
  35. โครงการจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐาน และภูมิลักษณวรรณา พร้อมคู่มือมาตรฐาน คุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
  36. โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา พร้อมคู่มือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ประเภทภูเขา
  37. โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ประเภทน้ำตก พร้อมคู่มือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ประเภทน้ำตก
  38. โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ประเภทถ้ำ พร้อมคู่มือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทถ้ำ
ประเภทของแหล่งธรรมชาติ
    ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552 แบ่งออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่
  1. ชายหาด
  2. ชายหาด หมายถึง พื้นที่ระหว่างแนวน้ำขึ้นกับน้ำลง มีลักษณะเป็นแถบยาวไปตามริมฝั่ง เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของคลื่นและกระแสน้ำในทะเล หรือทะเลสาบ หรือแม่น้ำ ขนาดพื้นที่ของชายหาดนี้จะขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของกระแสน้ำและความลาดชันของพื้นที่ คือ ถ้าความชันของพื้นที่มีน้อยและระดับของกระแสน้ำขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุดต่างกันมาก ชายหาดนี้ก็จะมีพื้นที่มาก ในทางตรงกันข้ามถ้าตัวหาดมีความชันมากและระดับของกระแสน้ำขึ้นสูงสุด และลงต่ำสุดต่างกันน้อย จะทำให้พื้นที่ของชายหาดนั้นแคบและมีพื้นที่น้อยตามกันด้วย นอกจากพื้นที่ในบริเวณที่น้ำสามารถท่วมถึงในบางชายหาดอาจมีพื้นที่หลังชายหาดเป็นบริเวณกว้างอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับวิวัฒนาการของชายหาดนั้น ๆ ซึ่งองค์ประกอบของชายหาดนี้จะประกอบด้วย หาดทราย หาดกรวด หาดโคลน ป่าชายเลน หาดดอน และหาดสันดอน

  3. ซากดึกดำบรรพ์
  4. ซากดึกดำบรรพ์ หมายถึง บริเวณที่มีซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำที่ตายมาเป็นเวลานาน และยังคงรูปร่างอยู่โดยไม่สลายหรือเปลี่ยนรูปเป็นอย่างอื่น เช่น สุสานหอย จังหวัดกระบี่ ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ และรอยเท้าไดโนเสาร์บนภูหลวง จังหวัดเลย เป็นต้น แหล่งธรรมชาติประเภทนี้จะไม่นับรวมโครงกระดูกมนุษย์และร่องรอยการตั้งถิ่นฐาน

  5. ถ้ำ
  6. ถ้ำ หมายถึง ช่องที่มีโพรงลึกเข้าไปในพื้นดินหรือภูเขา มีขนาดให้พอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ และเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทั้งที่เป็นถ้ำภูเขาหินปูนและถ้ำหินชายฝั่งทะเลบางแห่ง เช่น ถ้ำดาวดึงส์ และถ้ำละว้า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ปรากฏให้เห็นหินงอก หินย้อยที่สวยงาม

  7. ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา
  8. ธรณีสัณฐานและภูมิลักษณวรรณา คือ สาขาธรณีวิทยาว่าด้วยพื้นผิวของโลก ซึ่งประมวลเอารูปร่างธรรมชาติ กระบวนการเกิดและการพัฒนาตัวตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่ประสบในปัจจุบันเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเด่น แปลกตา แหล่งธรรมชาติมีขนาดต่าง ๆ กัน เช่น กลุ่มหินบริเวณมอหินขาว จังหวัดชัยภูมิ เสาดินนาน้อย จังหวัดน่าน และหอนางอุษา จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น

  9. น้ำตก
  10. น้ำตก หมายถึง ธารน้ำธรรมชาติที่ไหลผ่านภูมิประเทศที่มีความลาดชันจากที่สูงไปที่ต่ำ ซึ่งพบอยู่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย เช่น น้ำตกคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และน้ำตกกระโรม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น

  11. ภูเขา
  12. ภูเขา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง เนินที่สูงขึ้นไป เป็นจอมเด่นหรือเป็นเขาขนาดใหญ่ และสูงโดยแต่ละภาค มักจะมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน ได้แก่ ภาคเหนือเรียกว่า "ดอย" อาทิ ดอยสุเทพ ดอยอินทนนท์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า "ภู" อาทิ ภูกระดึง ภูหลวง ส่วนทางภาคใต้เรียกว่า "เขา" เช่น เขาหลวง และเขานางหงส์ เป็นต้น

  13. เกาะ
  14. เกาะ หมายถึง ส่วนของพื้นที่ที่มีน้ำล้อมรอบตลอดเวลา ซึ่งขนาดของเกาะนี้อาจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ตามสภาพแวดล้อมและธรรมชาติของเกาะนั้น ๆ เช่น เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล เป็นต้น

  15. แก่ง
  16. แก่ง หมายถึง บริเวณลำน้ำที่มีพืดหินหรือโขดหินที่อยู่กลางน้ำ โดยอาจถูกท่วมได้ในฤดูที่มีน้ำมาก โดยมากพบตอนต้น ๆ ของแม่น้ำ ลำธาร เช่น แก่งตะนะ จังหวัดอุบลราชธานี และแก่งคุดคู้ จังหวัดเลย เป็นต้น

  17. แหล่งน้ำ
  18. แหล่งน้ำในทีนี้ หมายถึง พรุ หนอง บึง ทะเลสาบ และบางส่วนของคลอง ลำธาร และแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจเป็นแหล่งน้ำจืดหรือน้ำเค็ม เป็นแหล่งน้ำนิ่งหรือน้ำไหลก็ได้ และอาจถูกดัดแปลงหรือพัฒนาไปบ้างโดยมนุษย์ แต่ทั้งนี้ยังคงสภาพธรรมชาติเดิมไว้เป็นส่วนใหญ่ เช่น หนองหาร จังหวัดสกลนคร และหนองสามขา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นต้น

  19. โป่งพุร้อน
  20. โป่งพุร้อน หมายถึง น้ำพุร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติจนอาจมีอุณหภูมิสูงถึงจุดเดือด โป่งพุร้อนแต่ละแห่งมีแรงดันไม่เท่ากัน บางแห่งพุ่งขึ้นมาเพียงเบา ๆ บางแห่งก็พุ่งสูง ซึ่งโป่งพุร้อนแต่ละแห่งอาจมีแรงดันไม่เท่ากันตลอดเวลา จะเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลา เมื่อมีแรงดันจากใต้พื้นโลกมาก ก็จะดันน้ำพุ่งขึ้นสูง แต่ถ้ามีแรงดันน้อยก็จะพุ่งขึ้นน้อย

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ